top of page
การสำเร็จการศึกษา

หลักสูตรปริญญาเอก

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยวัฒนธรรม ศิลปกรรมและการออกแบบ

Doctor of Philosophy Program in Culture, Fine Arts and DesignnResearch

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา 

ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (วิจัยวัฒนธรรม ศิลปกรรมและการออกแบบ)

ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : ปร.ด. (วิจัยวัฒนธรรม ศิลปกรรมและการออกแบบ)

ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Doctor of Philosophy (Culture, Fine Arts and Design Research)

ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : Ph.D. (Culture, Fine Arts and Design Research)

 

จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร

     แบบ  1.1     ไม่น้อยกว่า     54    หน่วยกิต
     แบบ  2.1    ไม่น้อยกว่า     54    หน่วยกิต

 

  1. รูปแบบของหลักสูตร

    1. รูปแบบ หลักสูตรระดับปริญญาเอก แบบ  1.1 , แบบ  2.1 

    2. ภาษาที่ใช้ ใช้ภาษาไทยเป็นหลัก และภาษาอังกฤษบางวิชา

    3. การรับนักศึกษา รับนักศึกษาไทย และนักศึกษาชาวต่างประเทศที่สามารถพูด เขียนภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้เป็นอย่างดี

 

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

       แบบ 1.1

       1) ให้เป็นไปตามระเบียบมหาวิทยาลัยขอนแก่น ว่าด้วย การศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2559 หมวดที่ 5 ข้อ 21.4  และ

       2) เป็นผู้สำเร็จการศึกษาปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาทางศิลปกรรมศาสตร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์

การออกแบบ วัฒนธรรมศาสตร์ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  บริหารจัดการวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ หรือสาขาวิชาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง   

       3) มีผลการสอบภาษาอังกฤษได้ตามเกณฑ์ที่คณะกรรมการการอุดมศึกษากำหนด

       4) มีคะแนนเฉลี่ยสะสมระดับปริญญาโท ไม่ต่ำกว่า 3.50

       5) มีประสบการณ์ในการทำวิจัยระดับชาติ หรือ นานาชาติที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรม ศิลปกรรม และการออกแบบ มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี หรือมีผลงานตีพิมพ์ในวารสารที่มีกรรมการภายนอกร่วมกันกลั่นกรอง (Peer Review) ก่อนการตีพิมพ์หรือมีผลงานการบริการ หรือวิจัยด้านวัฒนธรรม ศิลปกรรม และการออกแบบ ที่เป็นที่ยอมรับในวงวิชาการด้านศิลปะและวัฒนธรรม หรือมีผลงานสร้างสรรค์ทางด้านศิลปกรรมและการออกแบบ

       6) หากมีคุณสมบัตินอกเหนือจาก ข้อ (2) ข้อ (4) และข้อ (5) ให้อยู่ในดุลพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร

 

       แบบ 2.1

       1) ให้เป็นไปตามระเบียบมหาวิทยาลัยขอนแก่น ว่าด้วย การศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2559หมวดที่ 5 ข้อ 21.4  หรือเป็นไปตามระเบียบที่จะปรับปรุงใหม่ และ

       2) เป็นผู้สำเร็จการศึกษาปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาทางศิลปกรรมศาสตร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์

การออกแบบ วัฒนธรรมศาสตร์ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  บริหารจัดการวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ หรือสาขาวิชาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง   

       3) มีผลการสอบภาษาอังกฤษได้ตามเกณฑ์ที่คณะกรรมการการอุดมศึกษากำหนด

       4) มีคะแนนเฉลี่ยสะสมระดับปริญญาโท ไม่ต่ำกว่า 3.50

       5) หากมีคุณสมบัตินอกเหนือจาก ข้อ (2) ข้อ (4) ให้อยู่ในดุลพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร

หลักสูตร

  1.1 หลักสูตร

       1.1.1 จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร

            หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวัฒนธรรม ศิลปกรรมและการออกแบบเป็นหลักสูตรแบบ

            แบบ 1.1       ทำดุษฎีนิพนธ์อย่างเดียว          54      หน่วยกิต

            แบบ 2.1      ทำดุษฎีนิพนธ์                         36      หน่วยกิต 

                             และศึกษารายวิชาไม่น้อยกว่า     18      หน่วยกิต

 

       1.1.2 โครงสร้างหลักสูตร

                    หมวดวิชา                  แบบ 1.1                     แบบ 2.1

            1.  หมวดวิชาบังคับ                -                                12

            2. หมวดวิชาเลือก                 -              ไม่น้อยกว่า  6

            3. วิชาดุษฎีนิพนธ์                54                             36

                รวม                                54                             54

         

       1.1.3 รายวิชา

             1.1.3.1 หมวดวิชาบังคับ

                     วิชาบังคับนับหน่วยกิตจำนวน 12 หน่วยกิต (แบบ 1.1 นักศึกษาต้องลงทะเบียนเรียนโดยไม่หน่วยกิตจำนวน 6 หน่วยกิต) ให้นักศึกษาลงทะเบียนเรียนและสอบผ่านรายวิชาดังต่อไปนี้

FA 509 111 การวิจัยทางวัฒนธรรม ศิลปกรรมและการออกแบบขั้นสูง 3(3-0-6)

                 Advanced Qualitative Research in Culture Fine Arts and Design

FA 509 112 ทฤษฎีทางวัฒนธรรม ศิลปกรรม และการออกแบบขั้นสูง 3(3-0-6)

                  Advanced in Culture Fine Arts and Design Theory

FA 509 113 การวิจัยข้ามวัฒนธรรมขั้นสูง 3(3-0-6)

                  Advanced in Cross Culture Research 

 FA 509 991 สัมมนาทางการวิจัยวัฒนธรรม ศิลปกรรม และการออกแบบขั้นสูง 3(3-0-6)

                    Seminar in Advanced Culture Fine Arts and Design Research

             1.1.3.2 หมวดวิชาเลือก

                      จำนวนไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต ให้นักศึกษาเลือกลงทะเบียนเรียนและสอบผ่านรายวิชาดังต่อไปนี้ หรือรายวิชาที่จะเปิดสอนเพิ่มเติมในภายหลัง (ตามกลุ่มหมวดวิชาเลือก)  

กลุ่มวิชาทัศนศิลป์

FA 509 211 การสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ขั้นสูง 1 3(1-4-4)

                 Advanced Creative Visual Arts I

FA 509 212 การสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ขั้นสูง 2 3(1-4-4)

                   Advanced Creative Visual Arts II

 

กลุ่มวิชาการออกแบบ

FA 509 311 การออกแบบขั้นสูง 1 3(1-4-4)

                 Advanced in Design I

FA 509 312 การออกแบบขั้นสูง 2 3(1-4-4)

                   Advanced in Design II

 

กลุ่มวิชานาฏศิลป์

FA 509 411 นาฏศิลป์ขั้นสูง 1 3(1-4-4)
                 Advanced Thai Dance I

FA 509 412 นาฏศิลป์ขั้นสูง 2 3(1-4 -4)

                   Advanced Thai Dance II

 

ลุ่มวิชาศิลปะการแสดงหมอลำ

FA 509 511 ศิลปะการแสดงหมอลำขั้นสูง 1 3(1-4 -4)

                   Advanced in Mor Lam Performing Arts I

FA 509 512 ศิลปะการแสดงหมอลำขั้นสูง 2 3(1-4 -4)

                   Advanced in Mor Lam Performing Arts II

กลุ่มวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีทางดนตรี

FA 509 611 นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางดนตรีขั้นสูง 1 3(1-4-4)

                  Advanced in Music Innovation and Technology I

FA 509 612 นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางดนตรีขั้นสูง 2 3(1-4-4)

                   Advanced in Music Innovation and Technology II

กลุ่มวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะลุ่มน้ำโขง

FA 509 711 ประวัติศาสตร์ศิลปะลุ่มน้ำโขงขั้นสูง 1 3(3-0-6)

                  Advanced in Art History of Mekong Basin I

FA 509 712 ประวัติศาสตร์ศิลปะลุ่มน้ำโขงขั้นสูง 2 3(3-0-6)

                  Advanced in Art History of Mekong Basin II 

กลุ่มวิชาบริหารจัดการวัฒนธรรม

FA 509 811 การบริหารจัดการวัฒนธรรมขั้นสูง  3(3-0-6)

                  Advanced in Cultural Management I

FA 509 812 การบริหารจัดการวัฒนธรรมขั้นสูง 2 3(3-0-6)

                  Advanced in Cultural Management II

FA 509 813 ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการออกแบบ 3(3-0-6)

                   Local Wisdoms and Designing                              

FA 509 814 ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับงานศิลปกรรม 3(3-0-6)

                   Local Wisdoms and Fine Art Works

FA 509 815คุณค่าสุนทรียะในงานศิลปกรรมและการออกแบบ 3(3-0-6)

                 Aesthetic Value in Fine Arts and Design

FA 509 816 ความเชื่อ ปรัชญา ศาสนาและวัฒนธรรม 3(3-0-6)

                    Belief, Philosophy, Religion and Culture      

FA 509 817 วัฒนธรรมเอเชียและโลก 3(3-0-6)

                  Asian and World Culture

FA 509 818 สัมมนาทางการท่องเที่ยวทางศิลปะและวัฒนธรรมในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง 3(3-0-6)

                   Seminar in Art and Culture Tourism in Mekong Basin

FA 509 819 สัมมนาทางภาษาและวรรณกรรมท้องถิ่น 3(3-0-6)

                  Sminar in Local Language and Literature

FA 507 815 การบริหารองค์กรด้านวัฒนธรรม ศิลปกรรม และการออกแบบ 3(3-0-6)

                   Culture Fine Arts and Design Organization Administration

FA 507 816 ภาษาและวรรณกรรมท้องถิ่น 3(3-0-6)

                   Language and Local Literature

FA 507 817 ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวิถีไทย 3(3-0-6)

                   Local Wisdoms and Rote Thailand

FA 507 818 ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นในลุ่มน้ำโขง 3(3-0-6)

                   Local History of the Mekong Region

FA 507 819 การจัดการหอศิลป์และพิพิธภัณฑ์ทางศิลปะและวัฒนธรรม 3(3-0-6)

                   Management of Art Gallery and Art Culture Museum

FA 507 820 นวัตกรรมทางศิลปกรรมและการออกแบบ 3(3-0-6)

                    Innovation in Fine Arts and Design

FA 507 821 สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น 3(3-0-6)

                   Vernacular Architecture

 

             1.1.3.3 ดุษฎีนิพนธ์

                      เป็นการมุ่งให้นักศึกษาทำงานวิจัย เพื่อให้เกิดความเชี่ยวชาญในเชิงลึกในการนำพื้นฐาน ความรู้ทางศิลปกรรมไปประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์ วิจัยและแก้ปัญหาทางศิลปกรรม การออกแบบ และวัฒนธรรมตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา     

  

FA 509 996 ดุษฎีนิพนธ์ 54  หน่วยกิต

                     Dissertation

                     สำหรับนักศึกษาในหลักสูตร แบบ 1.1


FA 509 998 ดุษฎีนิพนธ์ 36  หน่วยกิต

                     Dissertation

                     สำหรับนักศึกษาในหลักสูตร แบบ 2.1

 

ค่าธรรมเนียมการศึกษา

     ค่าธรรมเนียมการศึกษา (ภาคปกติ)                                       25000 บาท/เทอม

     ค่าธรรมเนียมการศึกษา (หลักสูตรที่ศึกษาเป็นภาษาอังกฤษ)  60,000 บาท/เทอม

     ค่าธรรมเนียมการศึกษา (โครงการพิเศษ )                             50,000 บาท/เทอม

Culture

  • White Facebook Icon

© 2024 by Culture, Fine Arts and Design Research

bottom of page